วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (C)

(รูปโดย tweet4tutorial.com)


          ก่อนจะมารู้จักกับภาษาซี ( C ) เราต้องมารู้จักกับคำว่าโปรแกรมภาษาคอมพิมเตอร์กันก่อน                   ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำคัญคือหากไม่มีภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดชุดคำสั่งในการทำงาน

(รูป ตัดต่อเอง)

            คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้จะต้องมีการเขียนโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานโปรแกรมต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมานั้น จะต้องเขียนไปตามกฎเกณฑ์ของภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
           ภาษาของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายระดับ โดยจะเรียกว่า ระดับของภาษา     
           ซึ่งระดับของภาษา (Level of Languages) นั้นแบ่งออกเป็น
  1. ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
  2. ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Languages)
  3. ภาษาระดับสูง (High-level Languages)
  4. ภาษาระดับสูงมาก (Very High-level Languages)
  5. ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages)

           จากเนื้อหาข้างต้น เราก็ได้ทราบว่าโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไรแล้ว จึงขอยกโปรแกรมภาษามาชนิดหนึ่งก็คือ ภาษาซี ซึ่งจัดอยู่ในระดับภาษาเครื่อง (Machine Languages)


(รูปโดย a2.mzstatic.com)


           ภาษาซี (C Programming Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมทั่วไป ถูกพัฒนาครั้งแรกเพื่อใช้เป็นภาษาสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ( Unix Opearating System) แทนภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สามารถกระทำในระบบฮาร์ดแวร์ได้ด้วยความรวดเร็ว แต่จุดอ่อนของภาษาแอซเซมบลีก็คือความยุ่งยากในการโปรแกรม ความเป็นเฉพาะตัว และความแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง เดนนิส ริตชี (Dennis Ritchie) จึงได้คิดค้นพัฒนาภาษาใหม่นี้ขึ้นมาเมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 1970 โดยการรวบรวมเอาจุดเด่นของแต่ละภาษาระดับสูงผนวกเข้ากับภาษาระดับต่ำ เรียกชื่อว่า ภาษาซี 


(รูปโดย listverse.com)


          เมื่อภาษาซี ได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีผู้ผลิต compiler ภาษาซีออกมาแข่งขันกันมากมาย ทำให้เริ่มมีการใส่ลูกเล่นต่างๆ เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ ทาง American National Standard Institute (ANSI) จึงตั้งข้อกำหนดมาตรฐานของภาษาซีขึ้น เรียกว่า ANSI C เพื่อคงมาตรฐานของภาษาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไป
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี และตัวอย่าง
          โปรแกรมในภาษาซีทุกโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ชันอย่างน้อย หนึ่งฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน main โดยโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มทำงานที่ฟังก์ชัน main ก่อน ในแต่ละฟังก์ชันจะประกอบด้วย 
          1. Function Heading ประกอบด้วยชื่อฟังก์ชัน และอาจมีรายการของ argument (บางคนเรียก parameter) อยู่ในวงเล็บ 
          2. Variable Declaration ส่วนประกาศตัวแปร สำหรับภาษาซี ตัวแปรหรือค่าคงที่ทุกตัว ที่ใช้ในโปรแกรมจะต้องมีการประกาศก่อนว่าจะใช้งานอย่างไร จะเก็บค่าในรูปแบบใดเช่น interger หรือ real number 
          3. Compound Statements ส่วนของประโยคคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประโยคเชิงซ้อน (compound statement) กับ ประโยคนิพจน์ (expression statment) โดยประโยคเชิงซ้อนจะอยู่ภายในวงเล็บปีกกาคู่หนึ่ง { และ } โดยในหนึ่งประโยคเชิงซ้อน จะมีประโยคนิพจน์ที่แยกจากกันด้วยเครื่องหมาย semicolon (;) หลายๆ ประโยครวมกัน และ อาจมีวงเล็บปีกกาใส่ประโยคเชิงซ้อนย่อยเข้าไปอีกได้ 


(รูปโดย learnlinky.com)

ที่มา

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

                   ถ้าจะพูดถึงเรื่องนี้ ต้องมาพูดถึงเรื่อง Social Network กันก่อนซึ่ง Social Network ก็คือพื้นที่ที่หนึ่งที่ทำให้ทุกคนที่เข้าร่วมสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไร้พรมแดน ซึ่งประกอบด้วยผู้สร้างระบบ(หรือผู้ดูแล) เซอร์เวอร์(พื้นที่ในการให้บริการ) และผู้ใช้บริการ ซึ่งเมื่อเรามองดูคนรอบข้าง ก็เห็นมีแต่คนใช้ Social Network กันหมด ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า Social Network นั้น ได้รับความนิยมอย่างมาก
       
                   โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มีกี่ประเภท อะไรบ้าง การจัดประเภทของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) นั้นสามารถแยกได้ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน 

(รูปโดย bloggersideas.com)

                   โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามรูปแบบ แบ่งได้เป็น 

1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง “ปูม” ดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก ข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้ โดยสามารถคอมเม้นต์บทความ ติดตาม หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น 

2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter 

3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์ นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น 4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้ 

(รูปโดย thaigoodview.com)

                   โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แบ่งได้เป็น 

1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น 

2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้ มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น เว็บรวมนักเขียนนิยาย เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น 

3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network) เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น 

4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online) เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้ โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น 

                 พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ของคนไทย พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ปรับเปลี่ยนจากการรับข่าวสารจาก Portral Site มาเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) เว็บไซต์ เริ่มเด่นชัดตั้งแต่ช่วงปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผลการศึกษาพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ใช้เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร และอีก 1 ใน 3 เพื่อคุยกับเพื่อนและคนรู้จัก นั่นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ติดตามข่าวสารจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มากขึ้น

               

(รูปโดย socialnetworkgroups.worldpress.com)


เนื้อหาเพียงบางส่วนโดย microband.co

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การมาของ iOS 9

                            ใครที่ติดตามงาน WWDC 2015 หรือ Worldwide Developer Conference 2015 ในวันที่ 8 มิถุนายน 2558 หรือไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา จะทราบกันดีว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple ได้จัดงานประชุมสำหรับนักพัฒนา(หรือที่รู้จักกันดีว่าเป็นผู้ผลิตแอพพลิเคชั่นให้เราใช้นั่นเอง)
ซึ่งเรามาพูดถึงในตัวระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา (iOS) ที่พึ่งเปิดตัวไปไม่นานนี้กันดีกว่า

(รูปโดย apple.com/ios/ios9-preview)
  โดยที่ iOS 9 นี้ จะมาพร้อมความสามารถใหม่ๆที่ให้ประสบการณ์ที่ดีมาขึ้นแต่ยังคงอยู่ในแอพเดิมและยังมีแอพใหม่ซึ่งก็คือแอพ News
โดยที่จะพูดถึงจุดเด่นๆที่คิดว่าได้ใช้จริงกันซึ่ง
มาพูดถึงแอพตัวใหม่อย่าง News กันก่อน
ซึ่งแอพที่ว่านี้จะมาแทนแอพ News Stand ซึ่งจะให้ประสบการอ่านที่ดีกว่า ด้วยกราฟฟิกและแอนิเมชั่นที่ลื่นไหลเรียบง่าย แต่ยังคงความสวยงามและใช้งานง่ายตามแบบฉบับของ Apple

(รูปโดย apple.com/ios/ios9-preview)

แอพ News ยังมอบประสบการณ์ที่หาที่ไหนไม่ได้ ซึ่งคือการที่ตัวแอพจะคัดเรื่องที่เราชอบหรือสนใจแล้วจึงรวบรวมคอนเทนต์มากมายจากหนังสือ นิตยสาร หรือแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราสนใจมาให้เรา ซึ่งจะมีทั้งรูปที่สวยคมชัด เหมาะกับเนื้อหา แอนิเมชั่นที่ต้องทึ่ง และยังมีวิดีโอให้อีกด้วย ซึ่งทุกๆอย่างที่เราต้องการจะถูกรวบรวมไว้ที่นี่ และถ้ามีเรื่องใหม่ที่สนใจ เราก็สามารถเพิ่มได้ในภายหลัง

(รูปโดย apple.com/ios/ios9-preview)


ต่อมา มาพูดถึงความสามารถใหม่ๆที่เพิ่มเข้ามาในแอพดั้งเดิม

เริ่มจากแอพจดบันทึกหรือ Notes
แอพนี้ได้เพิ่มความสามารถใหม่ๆเข้ามามากมายเช่น เราสามารถเพิ่มรูปได้โดยตรง โดยที่ไม่ต้องคอย copy & paste ให้ลำบากอีกต่อไป และหากการพิมไม่ทันใจเราก็สามารถเขียนหรือวาดรูปลงไปได้เลย และยังสามารถเพิ่มรายการและติ๊กรายการที่สำเร็จแล้วได้อีกด้วย

(รูปโดย apple.com/ios/ios9-preview)


แอพแผนที่หรือ Maps ก็มีความสามารถเพิ่มเข้ามา ก็คือการเพิ่มเส้นทางระบบขนส่งมวลชนเข้ามา โดยจะเริ่มจากเมืองใหญ่ๆในหลายๆประเทศก่อน ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีในเมืองไทย และยังเพิ่มเข้าไปในการนำทางอีกด้วย ซึ่งจะคล้ายๆกับแผนที่ของ Google อีกความสามารถนึงก็คือสามารถค้นหาสถานที่ โรงแรม แลนด์มาร์ก ร้านค้า หรือ ร้านอาหารใกล้เราได้อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก



(รูปโดย apple.com/ios/ios9-preview)

มาถึงความสามารถใหม่ที่มีเฉพาะใน iPad กัน
ซึ่งความสามารถใหม่นี้มีหลายตัวที่หลายคนต้องการมานาน สิ่งแรกคือ Slide Over หรือการที่เราสามาถเลื่อนใช้แอพที่เราใช้ก่อนหน้านี้ให้มาโผล่ทับที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งของหน้าจอได้ ยกตัวอย่างง่ายๆคือ สมมติเราเปิดดูคลังรูปภาพอยู่แล้วเกิดอยากพิมพ์อีเมลล์ เราก็สามารถปัดเพื่อพิมผ่านแอพ Mail ได้ทันที อันต่อมาก็คือ Split View หรือการที่เราสามารถรันแอพ 2 แอพพร้อมๆกันได้ในหน้าจอเดียว และสามารถปรับขนาดสัดส่วนของแอพทั้งสองได้ตามต้องการอีกด้วย และยังสามารถลากไฟล์รูป ข้อความ เนื้อหาไปมาระหว่างแอพได้ ซึ่งสะดวกมากกว่าการ copy & paste ในเวลาเร่งรีบ ความสามารถสุดท้ายคือ Picture in Picture หรือการที่เราสามารถเล่นไฟล์วิดีโอได้บนแอพอื่น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรากำลังดู Music Video หรือกำลังดูรายการสด จากแอพใดแอพหนึ่ง แล้วมีข้อความด่วนหรืองานที่เร่งรีบเข้ามา เราก็สามารถกดออกไปที่หน้าจอโฮมแล้วเข้าไปตอบข้อความหรือพิมพ์งานได้เลย โดยที่วิดีโอนั้นจะถูกย่อเหลือจอเล็กๆอยู่ที่มุมขวาล่าง ซึ่งสามารถใช้นิ้วถ่างหรือจีบเพื่อปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามต้องการ และยังเลื่อนไปที่ขอบไหนของจอก็ได้ด้วย แต่ยังมีอีกหนึ่งความสามารถนั่นก็คือแป้นพิมพ์ QuickType ใหม่ ที่มาพร้อมเครื่องมือที่จำเป็นในการพิมพ์ เช่นตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ ตัด/วางข้อความ และอีกอย่างที่น่าสนใจก็คือ การที่สามารถใช้นิ้ว 2 นิ้วกดและลากไปบนแป้นพิมพ์นั้น สามารถเลือกแล้วลากผ่านทั้งข้อความได้อย่างง่ายดาย เสมือน Trackpad ของโน้ตบุ้คหลายๆรุ่น รวมทั้ง Macbook ซึ่งทำให้ iPad เครื่องเล็กๆ ทำงานได้ดีพอๆกับ Macbook เลยทีเดียว
(รูปโดย apple.com/ios/ios9-preview)

Siri... ฉลาดมากขึ้นมากขึ้นอีกครั้ง
การอัพเดตนี้ Siri จะมาพร้อมกับความฉลาดที่มากขึ้น รู้ใจเราว่าต้องการถามอะไรและต้องการคำตอบแบบไหนได้มากขึ้น และยังมีฐานข้อมูลที่ให้คำตอบที่กว้างขึ้นอีก เช่น บอกกับ Siri ว่าเราต้องการหารูปตอนที่ไปเล่นสวนสนุก Siri ก็จะเปิดคลังภาพและแสดงรูปที่สวนสนุกแห่งนั้น โดยอาศัยการระบุตำแหน่งและเก็บไว้พร้อมรูปนั่นเอง และยังสามารถระบุวันเวลาได้อีก เผื่อว่าเราลืมเรื่องราวในวันนั้นไปแล้ว อีกอย่าง คือการที่เราสามารถให้ Siri จดบันทึกเตือนความจำได้ทันทีในขณะที่เรากำลังแชทพูดคุยกันอยู่ อย่างเช่น สตีฟทักในข้อความมาว่า เย็นวันพรุ่งนี้นายต้องไปดูหนังกับเพื่อนร่วมชั้นกัน เพียงแค่กดเรียก Siri แล้วบอกว่าให้จดบันทึกในสิ่งที่สตีฟบอก Siri ก็จะจัดการบันทึกสิ่งที่เราต้องทำ พร้อมทั้งระบุเวลาอย่างแม่นยำ
   
(รูปโดย apple.com/ios/ios9-preview)

(รูปโดย apple.com/ios/ios9-preview)

iOS 9 ยังเพิ่มความสามารถในการค้นหาที่ชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น โดยสามารถเรียกใช้งานได้โดยการสไลด์หน้าจอไปทางขวา จะพบช่องการค้นหาที่คุ้นเคย ซึ่งมาพร้อมกับการค้นหาที่ฉลาดและเข้าใจเรามากขึ้น ซึ่งเราสามารถค้นหาด้วยคำสั้นๆเช่น "สภาพอากาศ" แล้วระบบจะแสดงผลสภาพอากาศขณะนั้นโดยที่เราไม่ต้องเปิดแอพเลย หรือแม้กระทั้งคิดเลข เช่น "10% ของ 12345" ระบบก็จะแสดงคำตอบทันทีโดยไม่ต้องกดปุ่ม " = "
เหมือนแอพเครื่องคิดเลข





และช่องการค้นหานี้ ยังค้นหาได้แทบทุกอย่างที่ต้องการ อย่างเช่น รายชื่อ ข่าวสาร ร้านอาหาร สถานที่ใกล้ๆ


หรือแม้กระทั้งเบอร์โทรจากคนแปลกหน้า....








อีกอย่างหนึ่งคือทันทีที่เราเสียบหูฟังเข้าไป
หน้าจอล็อคจะแสดงโปรแกรมเล่นเพลงที่พร้อมจะเล่นในทันที


(รูปโดย apple.com/ios/ios9-preview)




 ความปลอดภัยก็มากขึ้นไปอีก
ด้วยการเพิ่มจำนวนหลักของรหัสความปลอดภัยหรือ PIN Code จาก 4 หลัก เป็น 6 หลัก









สุดท้าย.... iPhone 4S และ iPad 2 ยังได้ไปต่อ!!!!
ใช่...ฟังไม่ผิดแน่  
2 รุ่นดังกล่าวยังสามารถอัพเดตเป็น iOS 9 ได้
ใครที่ยังใช้อยู่นี่คุ้มเงินทุกบาทที่จ่ายไปแน่นอน
และนี่คือรุ่นที่สามารถอัพเดตเป็น iOS 9 ได้....

(รูปโดย apple.com/ios/ios9-preview)

ขอบคุณข้อมูลจาก apple.com/ios/ios9-preview/

เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน




        เทคโนโลยีในสมัยนี้นั้นพัฒนาไปไกลยิ่งกว่าหลายคนจะคิด ซึ่งตั้งแต่อดีตนั้น เทคโนโลยีได้มีการพัฒนามาอยากมากมาย เริ่มตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นแรกๆ ดังเช่น หลอดไฟ พัดลม กล้องถ่ายรูป โทรทัศน์ ฯลฯ มาจนถึงปัจจุบัน ดังเช่นโทรศัพท์อัจฉริยะหรือที่นิยมเรียกกันว่า สมาร์ตโฟน(smartphone) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ล้ำสมัย หรือ ระบบขนส่งที่ยอดเยี่ยม 



(รูปโดย apple.com/ios/ios9-preview)

        การใช้ชีวิตของคนเราในปัจจุบันได้มีการใช้เทคโนโลยีตั้งแต่เริ่มตื่นนอนเพราะในการตื่นนอนก็ต้องใช้นาฬิกาปลุกหรือตั้งเวลาปลุกผ่านแอพบนอุปกรณ์พกพา มาถึงในเรื่องการรับประทานอาหารก็ต้องใช้ไมโครเวฟในการทำอาหาร ไม่ว่าจะซักผ้าหรือทำความสะอาดบ้าน หรือทำอะไรก็ตามมนุษย์เราก็มักจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและพึ่งพาเทคโนโลยีอยู่เสมอ ในยุคนี้คงยากที่จะปฏิเสธได้ว่าโทรศัพท์มือถือไม่มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ เพราะคนส่วนใหญ่ต่างก็ใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะไปไหนทุกคนก็จะต้องนำมือถือติดตัวไปด้วยตลอดเวลา โทรศัพท์มือถือในสมัยนี้มีความสามารถมากกว่าการรับสายและโทรออก เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าได้รวมเอากิจกรรมความบันเทิงทุกอย่างเข้ามาโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง เล่นเกมส์ ท่องอินเทอร์เน็ต ดูทีวี ถ่ายรูป ก็สามารถทำได้ผ่านโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพกพาโทรศัพท์มือถือได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือคนชราทั้งในเมืองและในชนบทก็ล้วนมีโทรศัพท์มือถือกันแทบทั้งสิ้น นอกจากนี้การใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในโปรแกรมต่าง ๆ ที่ช่วยในการทำงาน การหาข้อมูลและความบันเทิงจากอินเตอร์เน็ท การรับ-ส่ง E-mail การสนทนาออนไลน์ การเล่นเกมส์ออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการรับข้อมูลข่าวสารผ่านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทก็สามารถอำนวยความสะดวกในเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างกันของมนุษย์ให้เป็นเรื่องที่ง่ายดายขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดเวลาไหนเราก็จะสามารถที่จะหาข้อมูลและข่าวสารที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตก็ยังถูกนำมาใช้ในเรื่องการค้าและพาณิชย์ด้วยเช่นกัน


(รูปโดย apple.com/watchos-2-preview)












        จะเห็นได้การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ในแต่ละวันล้วนต้องใช้และพึ่งพาเทคโนโลยีตลอดเวลา ไม่ว่าจะดำเนินกิจกรรมใด ๆ ก็ตามก็มักจะมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง และเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ก็ยังสามารถที่จะเชื่อมต่อกันได้จึงทำให้เราสามารถที่จะติดต่อกับบุคคลอื่น ๆ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา อย่างไรก็ตามในการใช้เทคโนโลยีนั้นเราก็ควรใช้เทคโนโลยีในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเรามากที่สุด ไม่ควรใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด และในบางครั้งมนุษย์เราก็ควรหันมาทำอะไรด้วยตนเองโดยไม่พึ่งพิงเทคโนโลยีบ้างเพื่อให้เราได้รู้จักใช้สมองและร่างกายของเราฝึกทำอะไรด้วยตนเองก่อนที่มนุษย์เราจะต้องตกเป็นทาสของเทคโนโลยี

(รูปโดย apple.com/th/appletv/)



















ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนโดย http://my.dek-d.com/hierophant/blog/